วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดอกบัวหลวง









สายพันธุ์บัวหลวง

1. บัวพันธุ์ดอกสีชมพู ( บัวแหลมชมพู ) มีชื่อว่า ปทุม ปัทมา โกกระนต หรือ โกกนุต ดอกขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ ปลายเรียวสีชมพู กลีบดอกชั้นนอกมี 4-5 กลีบ รูปไข่มีขนาดเล็ดเรียงตัวกัน 2 ชั้น ส่วนกลางของกลีบมีรูปร่างโค้งป่อง ตรงกลางสีชมพูอมเขียว ส่วนกลีบดอกชั้นกลางและชั้นในสีชมพูเข้ม โคนกลีบดอกสีขาวนวล มีประมาณ 13-14 กลีบ เรียงตัวเป็นชั้น ประมาณ 3 ชั้น อยู่โดยรอบฐานดอก กลีบชั้นนอกและชั้นในมีสีและรูปร่างคล้ายชั้นกลางแต่เล็กกว่ากลีบในชั้นกลาง

2. บัวหลวงพันธุ์ดอกสีขาว ( บัวแหลมขาว ) มีชื่อว่า บุณฑริก หรือ ปุณฑริก ดอกขนาดใหญ่เป็นรูปไข่ ปลายเรียว คล้ายบัวพันธุ์ปทุม ดอกมีสีขาวประกอบด้วยกลีบดอกชั้นนอกสีขาวอมเขียว ส่วนกลีบในชั้นกลางและชั้นในสีขาวปลายกลีบดอกสีชมพูเรื่อๆ รูปร่างของกลีบและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายดอกบัวพันธุ์ปทุม

3. บัวหลวงชมพูซ้อน ( บัวฉัตรชมพู ) มีชื่อว่า สัตตบงกช ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม สีชมพู ประกอบด้วยกลีบนอกเป็นรูปรี มี 4-7 กลีบ กลีบเล็กเรียนซ้อนกันเป็นชั้น 2-3 ชั้น สีเขียวอมชมพู กลีบในสีชมพูตลอด ส่วนโคนกลีบที่ติดกับฐานรองดอกมีสีขาวอมเหลือง กลีบในมีประมาณ 12-16 กลีบ กลีบในชั้นนอกและชั้นในมีขนาดเล็กกว่าชั้นกลาง เป็นรูปไข่ที่มีส่วนกว้างอยู่ด้านบน เกสรตัวผู้ชั้นนอกๆ เป็นหมัน โดยมีก้านชูที่เป็นเกสรตัวผู้ที่เป็นแผ่นบางๆ สีชมพูคล้ายกลีบในแต่มีขนาดเล็กกว่า ไม่มีอับเรณู แต่ปลายกลีบมีส่วนยื่นออกมาที่มีฐานเรียวเล็ก ส่วนปลายพองใหญ่ มีสีขาวนวล

4. บัวหลวงขาวซ้อน ( บัวฉัตรขาว ) มีชื่อว่า สัตตบุตย์ ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกตูมเป็นรูปไข่ทรงป้อม คล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช ดอกมีสีขาว ประกอบด้วยกลีบดอกสีเขียวอมขาว ส่วนกลีบชั้นในสีขาวตลอด ส่วนรูปทรงและการเรียงตัวของกลีบดอกคล้ายบัวพันธุ์สัตตบงกช

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดอกพุดตาน





พุดตานเป็นไม้พุ่มเตี้ย ตามต้นและกิ่งมีขน ใบมีลักษณะคล้ายใบฝ้าย ขนาดใหญ่ ขอบใบหยัก ดอกมีขนาดใหญ่ ลักษณะคล้ายดอกชบาซ้อน บานในตอนเช้า เมื่อแรกบานจะมีสีขาว เมื่อสายจะเปลี่ยนสีเป็นสีชมพู และเป็นสีชมพูเข้มในตอนบ่าย ออกดอกดกตลอดทั้งปี
ต้นพุดตาน ชอบอยู่กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ไม่ชอบที่แฉะหรือมีน้ำขัง ปลูกได้ดีในที่ดอน ดินร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ดอกพิกุล






พิกุลเป็นไม้ยืนต้น ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรี รูปไข่กว้าง 2 - 6 ซม. ยาว 7 - 15 ซม.ปลายใบแหลมเป็นติ่งขอบใบเป็นคลื่น ดอกเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งหรือที่ซอกใบ กลีบเลี้ยง 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน 2 ชั้น กลีบดอกประมาณ 24 กลีบ เรียงซ้อนกันโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเล็กน้อย ดอกสีขาว เมื่อใกล้โรยสีเหลืองอมน้ำตาล ดอกบานวันเดียวแล้วร่วง มีกลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลสีเหลือง รสหวานอมฝาด

ดอกราตรี




ราตรีเป็นไม้ไม่ผลัดใบ เป็นไม้พุ่มสูง 4 ม. ใบรูปหอกแคบ ยาว 6-20 ซม.กว้าง 2-4.5 ซม.เรียบเป็นมัน ขอบใบเรียบ ดอกสีเขียวออกขาวถึงเหลือง วงกลีบดอกรูปหลอดผอม ยาว 2-2.5 ซม.เป็น 5 แฉก แหลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-13 มม.บานตอนกลางคืน มีช่อดอกแบบช่อกระจุก มีกลิ่นหอมแรง มักส่งกลิ่นในตอนกลางคืน ผลมีเนื้อหลายเมล็ดสีขาว เป็นพิษ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดอกผกากรอง




ลักษณะทั่วไป  : เป็นไม้พุ่มที่พบทั่วไปในบ้านเรา เป็นพืชคลุมดิน ลำต้นเป็นพุ่มหรือไม้พุ่มกึ่งเลื้อย แตกกิ่งทอดเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร ใบจะมีสีเขียวเข้ม ใบรูปไข่ขอบใบจักเล็กน้อย ผิวใบจะมีขนอยู่ ทำให้รู้สึกสาก ๆ เมื่อจับต้อง ผกากรองนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยอาจปลูกเป็นแถวหรืออาจปลูกเป็นกลุ่มให้เกิดเป็นพุ่มก็ได้

ดอกของ ผกากรอง มีลักษณะสีสันที่สวยงามมาก มีหลายสีตั้งแต่เหลือง ขาว ส้ม ชมพู ม่วงอมชมพู หรือมีสองสีในช่อดอกเดียวกัน มีกลิ่นฉุน ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ช่อละ 20-25 ดอก ดอกย่อยรูปกรวย โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 4 แฉก ทยอยบานจากด้านนอกเข้าไปด้านในช่อดอก ช่อดอกบานเต็มที่กว้าง 3-4 เซนติเมตร

ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่ถึงรูปใบหอก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายใบมนกึ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบจักซี่ฟัน ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม หนา มีขนสั้นสากมือ

ผล (Fruit) – ผลสดมีเนื้อ ทรงกลม สีเขียว เมื่อแก่สีม่วงดำ มีเมล็ดจำนวนมาก

ดอกพุทธรักษา






ลักษณะทั่วไป:
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน อวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร
ใบ: ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตรยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร
ดอก: สีแดง แสด เหลือง ชมพู ขาว ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายกิ่ง ทยอยบานทีละ 1-3 ดอก ช่อดอกยาว 15- 20 เซนติเมตร ช่อละ 8-10 ดอก กลีบเลี้ยง 3 กลีบ ขนาดเล็กสีเขียวอ่อน กลีบดอก 3 กลีบ: ดอกบานเต็มที่กว้าง 8-9 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างไปเหมือนกลีบดอกมีขนาดใหญ่
ฝัก/ผล: ผลแห้งแตก ทรงกลม
เมล็ด: เมล็ดทรงกลม ขนาด 2-6 เซนติเมตร ผิวขรุขระ จำนวนหลายเมล็ด
ฤดูกาลออกดอก: ตลอดปี
การปลูก: ปลูกในแปลงปลูก และปลูกในกระถาง
การดูแลรักษา: ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรียวัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกหน่อ แยกเหง้า
ดอกเฟื่องฟ้า






เฟื่องฟ้า เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย ขนาดตั้งแต่พุ่มเล็กถึงพุ่มใหญ่ มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับกับกิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณ ะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อ ตามซอก ใบหรือปลายกิ่ง แต่ละช่อมี 3 ดอก เป็นหลอดยาว 1-2 ซม.ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอจะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น เมื่อโตขึ้น ต้องการน้ำปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ ถ้ารดน้ำมากเกินไปจะไม่ออกดอก ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด

ดอกแพงพวย





           แพงพวยเป็นไม้ล้มลุก โคนต้นค่อนข้างแข็ง ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่กลับ ปลายมนหรือเว้าเข้าเล็กน้อย โคนมนสีเขียวเข้มเป็นมันก้านและเส้นกลางใบมีสีขาว ดอก มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ชมพู ฯลฯ ออกตามซอกใบ 1-3 ดอก กลีบดอกเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล เป็นฝัก เมื่อแก่แตกได้

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดอกนางแย้ม





ดอกนางแย้ม เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน ใบเดี่ยว กว้างทรงรี ขึ้นสลับตามข้อของลำต้น ขอบใบมีหยัก เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวอมชมพู ออกเป็นช่อแน่นที่ปลายกิ่ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 6-10 ซม. บานไม่พร้อมกัน ส่วนบนจะบานก่อน มีกลิ่นหอมทั้งวัน ผลเนื้ออ่อนมีเปลือกหุ้ม เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 4 กลีบ มีเมล็ดหลายเมล็ด เป็นไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ ขยายพันธุ์ ด้วยการเพาะเมล็ด
ดอกบานเช้า





ดอกบานเช้า เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อยคลุมดินสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม รูปไข่ปลายแหลม ใบบางผิวใบสากระคายมือขอบใบมีหยัก ใบยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร ดอกเดี่ยว สีเหลืองแต่ละดอกมี 5 กลีบเรียงกัน กลีบดอกกลมมน บอบบางดอกดกบานในช่วงเช้า กลางวันแดดจัด ดอกจะหุบ ออกดอกตลอดปี  ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง การปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีใน แสงแดดจัดกลางแจ้ง ดินร่วนซุย
พุดซ้อน





พุดซ้อน ถิ่นเดิมของพุดซ้อนเข้าใจว่าอยู่ในประเทศจีน และเป็นพันธุ์ไม้วงศ์เดียวกับเข็มพวงขาว กระทุ่มและกาแฟ มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ เก็ตถวา (ภาคเหนือ) พุดจีน และพุดใหญ่ พุดซ้อนเป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2เมตร แตกกิ่งแขนงมาก ลำต้นเรียวเป็นรูปกรวย ใบเดี่ยว รูปหอก ปลายใบและโคนใบแหลม ใบมีสีเขียวมน ดอกเดี่ยวสีขาวออกตามซอกใบและปลายกิ่ง มีกลีบเลี้ยงหนาเป็นสัน มีทั้งชนิดดอกลา คือกลีบดอกชั้นเดียว และชนิดดอกซ้อน มีกลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนกัน เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ พุดซ้อน เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด ชอบดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย





หมากผู้หมากเมีย เป็นไม้พุ่ม ขนาดเล็ก สูง 1-3 ม.ลักษณะของลำต้นตั้งตรง ไม่มีกิ่งก้านสาขามากนัก
ใบ ใบเรียงเวียนสลับบริเวณส่วนยอดของลำต้น ใบเดี่ยว รูปยาวรี กว้าง 5-10 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายใบแหลม ผิวใบมีสีแดงเขียวหรือสีแดงม่วง ก้านใบยาว
ดอก ดอกช่อยาวประมาณ 30 ซม. ออกบริเวณส่วนยอดของลำต้น ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 6 กลีบ ดอกมีเป็นสีม่วงแดงหรือสีชมพูสลับด้วยสีเหลือง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 1 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม ฉ่ำน้ำ มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. ภายในมีเมล็ด 1-3 เมล็ด

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กระชาย

กระชาย






กระชายหรือ ขิงจีน เป็นพืชสมุนไพรที่ปลูกเลี้ยงกันในประเทศจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลางพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก


ขมิ้น


ขมิ้น






ขมิ้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95 ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้ามเนื้อในเหง้าสีเหลืองส้ม มีกลิ่นเฉพาะ ใบเดี่ยว แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู

ข่า

ข่า






ข่า เป็นพืชที่มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า "เหง้า" อยู่ในตระกูลขิง เป็นไม้ล้มลุก เป็นพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ในการประกอบอาหารในประเทศไทยและอินโดนีเซีย ข่าเป็นไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตรอยู่เหนือพื้นดิน เหง้ามีข้อและปล้องชัดเจน เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม. ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว โคนติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง ใบประดับรูปไข่ ผล เป็นผลแห้งแตกได้ รูปกลม